ดูแผนที่
ข้อมูลทั่วไป

 

ตราวิทยาลัย

 

 

ประวัติวิทยาลัย

 
  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 และเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2539
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่เลขที่ 244 หมู่ที่ 7
ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80250
หมายเลขโทรศัพท์ 075-445734 หมายเลขโทรสาร 075-445734 ระยะทางห่างจากจังหวัด 52 กิโลเมตร
ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 764 กิโลเมตร มีพื้นที่ ทั้งหมด 783 ไร่ 300 ตารางวา

 
  คำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวน
แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ (สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ)

 

การจัดการศึกษา

 

พ.ศ.  2524   รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)
                          -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม

  พ.ศ.  2527   รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
                          -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม  สาขาวิชาเกษตรกรรม

  พ.ศ.  2528   รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค  (ปวท.)  
                         -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม

  พ.ศ.  2532   รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ
                          สำหรับโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท  (อศ.กช.)
                          -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม

  พ.ศ.  2536   รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
                          -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม  สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
                          -  ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  พ.ศ.  2537   รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)
                          -  ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  สาขาวิชาพณิชยการ
                          รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
                           -  ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการบัญชี

  พ.ศ.  2539   รับนักเรียนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)
                         -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม  สาขาวิชาเกษตรศาสตร์  
                            ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต

  พ.ศ.  2542   รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
                          -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม  สาขาวิชาพืชศาสตร์,  สาขาวิชาสัตวศาสตร์,  
                             สาขาวิชาการประมง  และสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

  พ.ศ.  2543   รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
                          -  ประเภทวิชาเกษตรกรรม  สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
                          -  ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการตลาด

พ.ศ.  2546    รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
                          -  ประเภทวิชาประมง   สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

หลักสูตรที่เปิดสอน

 
1.  การจัดการศึกษาในระบบ  ดำเนินการจัดการศึกษาวิชาชีพประกอบด้วยหลักสูตร  ดังนี้
     1.1  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  
                   1.1.1  ประเภทวิชาเกษตรกรรม  (โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต)
                         -  สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
              1.1.2  ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
                         -  สาขาวิชาพณิชยการ
      1.2  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.พิเศษ)
            สำหรับโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท  (อศ.กช.)
     1.3  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)
             1.3.1  ประเภทวิชาเกษตรกรรม
                     -  สาขาวิชาพืชศาสตร์
                     -  สาขาวิชาสัตวศาสตร์
                     -  สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
            1.3.2  ประเภทวิชาประมง
                     -  สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
             1.3.3  ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
                     -  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
                     -  สาขาวิชาการบัญชี
                     -  สาขาวิชาการตลาด

 2.  การจัดการศึกษานอกระบบ   
      เป็นการให้ความรู้ทางด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการประกอบอาชีพ  ได้แก่  หลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น  และ โครงการ 9+1

 3.  การจัดการบริการชุมชนในด้านต่าง ๆ  ได้แก่        
      โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี   และโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติ  การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  ร่วมพัฒนาชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

 

อัตลักษณ์วิทยาลัย

 

 
 

 "ทักษะเยี่ยม"

 

 

เอกลักษณ์วิทยาลัย

 

 
 

 "บริการเด่น "

 




ปรัชญาวิทยาลัย

 

 
 

 "เปิดโอกาสให้บุคคลได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนถนัดและสนใจ 
เพื่อพัฒนาให้บรรลุขีดความสามารถสูงสุดของตน"

 


วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

 

 
 

"มุ่งสร้างการอาชีวศึกษาเกษตรและประมงแนวใหม่ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและภูมิภาค "

 


พันธกิจของสถานศึกษา

 

 
  1. ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพเกษตรและประมงแนวใหม่ในระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี (สร้างคนในระบบ/หลักสูตร/การพัฒนาบุคลากร ฯลฯ)
2. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ในการจัดอาชีวศึกษาด้านเกษตรและประมงแนวใหม่ (วิจัยเพื่องานอาชีพ/ระบบการจัดการ/กิจกรรมการเรียนการสอน)
3. ส่งเสริมความร่วมมือและขยายเครือข่ายในการจัดการอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ ชุมชน สังคม ทั้งในและต่างประเทศ(ทวิภาคี/ในระบบ)
4. พัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการวิชาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและการบริการ ทั้งในประเทศและภูมิภาค (สร้างคน/หลักสูตร/การจัดการ-นอกระบบ-ผู้สูงวัย เด็ก สตรี ผู้ต้องขัง ฯลฯ)

 

นโยบายวิทยาลัยตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

 

 
  นโยบายที่ 1. พัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็น "คนเก่ง คนดี และ มีความสุข" โดยเน้น
ให้ผู้เรียนมีความรู้สู่การปฏิบัติจริง (Solid Knowledge to solid Practice) มีสรรถนะ
อาชีพ (Competency) ในทุกระดับชั้น ตามมาตรฐานอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ
นโยบายที่ 2. พัฒนาระบบการบริหารงาน โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมในการ "ร่วมคิด
ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา" เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษา
นโยบายที่ 3. พัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความชำนาญ ในการปฏิบัติงานสอนและส่งเสริมการทำ
งานวิจัย เพื่อเข้าสู่มาตรฐานครูวิชาชีพ
นโยบายที่ 4. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณี
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาท้องถิ่น
นโยบายที่ 5. จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการอาชีวศึกษา

 

เป้าประสงค์

 

 
  นโยบายที่ 1. ผลิตผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรและประมงแนวใหม่
2. สร้างผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรและประมงแนวใหม่สู่การเป็น Smart Farmers
3. พัฒนาผู้บริหารสู่การเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
4. พัฒนาครูและบุคลากรสายสนับสนุนสู่การเป็นมืออาชีพ
5. พัฒนาระบบคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้หลักปัชญาเศรษธกิจพอเพียง
6. พัฒนาสถานศึกษาให้ชุมชนและสังคมมีค่านิยมในการเข้าเรียนในด้านอาชีวศึกษาเกษตรและประมง
7. พัฒนาสิ่งสนับสนุนในด้านครุภัณฑ์พื้นฐานให้กับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรและประมงในทุกระดับ
8. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ
9. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการจัดการเรียนรู้วิชาชีพเกษตรและประมง
10. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีการบริหารจัดการ
11. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษา สถาบัน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ
12. เพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดทำฟอร์มต้นแบบ
13. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการวิชาชีพการเพิ่มมูลค่าการผลิตและการบริการในประเทศและภูมิภาค

 

 

ทำเนียบผู้บริหาร

 

ลำดับที่ ปี  พ.ศ.
ชื่อ - สกุล
 
1 ต.ค.2523 - พ.ย.2529
              นายอาสา  คงวิทยากุล
 
2 พ.ย.2529 - ส.ค.2532
              นายปลอบ  หนูยิ้มซ้าย
 
3 ส.ค.2532 - ต.ค.2536
              นายจงรัก  วณิชชาชีวะ
 
4 ต.ค.2536 - พ.ย.2543
              นายประกอบ  รัตนพันธ์
 
5  มี.ค.2544 - ต.ค.2551
              นายประเสริฐ  ชูแสง
6 ต.ค.2551 - พ.ค.2552
              นายนิวัตร ตระกูลสันติ
7  พ.ค.2552 - ส.ค.2559
              นายวิศวะ คงแก้ว
8  ส.ค.2559 - พ.ย.2559
            นายนิวัตร ตระกูลสันติ   
9  พ.ย.2559 - ก.ย.2565
              นายบุญศักดิ์ ตั้งเกียรติกำจาย
10  ต.ค.2565 - ปัจจุบัน
            นายประสิทธิ์ สุวรรณา   

ผลงานเด่นสถานศึกษา

 

ลำดับที่ ปีการศึกษา
1 2559