ด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษา

มีการสร้างความร่วมมือในการค้นหา/วิเคราะห์ความเสี่ยงและกำหนดประเด็นความเสี่ยงเรียง
ด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษา โดยมีประเด็นความเสี่ยงเรียง
ตามลำดับความสำคัญที่จะต้องป้องกั่นและแก้ปัญหา ดังนี้
1. ความปลอดภัยในด้านอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อม
2. ความปลอดภัยในด้านการใช้รถและถนน
3. ความปลอดภัยในด้านทรัพย์สิน และร่างกาย
4. ความปลอดภัยในด้านสุขภาพ
มีมาตรการให้ครูและบุคลากรทุกหน่วยงานป้องกันและควบคุมความเสี่ยง
ด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษาด้วยตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยได้วางแผนและ
กำหนดให้มีการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. จัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมความ เสี่ยงด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษา
โดยมีโครงการและคำสั่งวิทยาลัยดำเนินการในเรื่องต่างๆดังนี้
1.1 โครงการขับขี่ปลอดภัย
1.2 โครงการตรวจสุขภาพ ประจำปี
1.3 โครงการอบรมหน้าเสาธง
1.4 กิจกรรมโฮมรูม
1.5 คำสั่งเวรยามรักษาการณ์
1.6 กิจกรรมอบรมและรณรงค์ ต่อต้านยาเสพติด
1.7 โครงการห้องพยาบาล
1.8 สวัสดิการโรงอาหาร
1.9 โครงการตรวจซ่อมและ บำรุงรักษาอาคาร สถานที่ห้องเรียน และ ระบบไฟฟ้า
1.10 โครงการพัฒนาสภาพ แวดล้อม
2. วางแผนและกำหนดมาตรการให้ครู และบุคลากรในทุกส่วนงาน ได้ป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้วย
ตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนี้
2.1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาให้ จัดดำเนินงานและ
ปฏิบัติงานตามจุดประสงค์ของโครงการ
2.2 ชี้แจงวิธีการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
2.3 ให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านความปลอดภัย ให้แจ้งแก่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
มี
การแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยสามารถควบคุมให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่อง
จากการปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2553 ไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา
เกิดขึ้นกับ ครู บุคลากร นักเรียน นักศึกษาซึ่งคิดเป็นความเสี่ยง
ที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับจำนวนครู บุคลากรนักเรียน นักศึกษา เป็นร้อยละ 0


ด้านทะเลาะวิวาท
- มีการสร้างการมีความร่วมมือในการค้นหา/วิเคราะห์ความเสี่ยงและกำหนดประเด็นความเสี่ยงด้านการทะเลาะวิวาท
โดยมีประเด็นความเสี่ยงเรียงตามลำดับความสำคัญที่จะต้องป้องกัน และแก้ปัญหา ดังนี้
1. การทะเลาะวิวาทเรื่องชู้สาว
2. การทะเลาะวิวาทเรื่องการมอง หน้าไม่พอใจกัน
3. การทะเลาะวิวาทเรื่องยา เสพติด
4. การพกพาอาวุธมาใน สถานศึกษา

- มีมาตรการให้ครูและบุคลากรทุกหน่วยงานป้องกันและควบคุมความ
เสี่ยงด้านการทะเลาะวิวาทด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง โดยได้วางแผนและกำหนดให้มีการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. จัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านการทะเลาะวิวาทโดยมีโครงการต่างๆ ดังนี้
1.1 มีระเบียบว่าด้วยการควบคุมความประพฤติและการลงโทษ ให้สอดคล้องกับระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ
วิสัยทัศน์ และพันธกิจของวิทยาลัย
1.2 แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษนักเรียน นักศึกษา
1.3 ประชุมผู้ปกครอง
1.4 โครงการอบรมหน้าเสาธง
1.5 กิจกรรมโฮมรูม
1.6 มีการพิจารณาโทษการ กระทำผิดตามระเบียบของ วิทยาลัยฯ
1.7 โครงการเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม

2. วางแผนและกำหนดมาตรการให้ครู และบุคลากรในทุกส่วนงานได้ป้องกันและ
ควบคุมความเสี่ยงด้วยตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องดังนี้
2.1 กำหนดให้ ครู และบุคลากรในทุกส่วนงานปฏิบัติตามระเบียบวินัย ของสถานศึกษา
หากไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการดำเนินการตามระเบียบ
2.2 กำหนดให้นักเรียน นักศึกษาได้ปฏิบัติตนตามระเบียบที่กำหนดในคู่มือหากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการตามระเบียบ

3. ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือในการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือช่วยระงับเหต
ุไม่ให้เกิดความรุนแรง เช่น หน่วยงานสารวัตรนักเรียน ตำรวจ เครือข่ายผู้ปกครอง เป็นต้น

- มีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงด้านการทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้น โดยสามารถควบคุมให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่อง
ผลการบริหารความเสี่ยงด้านการทะเลาะวิวาทในปีการศึกษา 2553 เป็นดังนี้
1. ครู และบุคลากรของส่วนงานต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 0 ที่มีการทะเลาะวิวาท
2. จำนวนนักเรียน นักศึกษา ปี 2553 รวมทั้งหมด 386 คน มีเรื่องทะเลาะวิวาท 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0
3. ความเสี่ยงการทะเลาะวิวาท ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สามารถ ควบคุมให้ลดลงอย่างต่อเนื่องได้

ด้านสิ่งเสพติด
 - มีการสร้างการมีความร่วมมือในการค้นหา/วิเคราะห์ความเสี่ยงและกำหนดประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติด
โดยมีประเด็นความเสี่ยงเรียงตามลำดับความสำคัญที่จะต้องป้องกัน และแก้ปัญหา ดังนี้
1.สิ่งเสพติดภายในสถานศึกษา
2.สิ่งเสพติดภายนอกสถานศึกษา

- มีมาตรการให้ครูและบุคลากรทุกหน่วยงานป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่องโดยได้วางแผนและกำหนดให้มีการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. จัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดโดยมีโครงการต่างๆ ดังนี้
1.1 โครงการตรวจสุขภาพนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรภายในวิทยาลัย
1.2 ครูที่ปรึกษาพบนักเรียน/นักศึกษาพบหลังเข้าแถว และกิจกรรมโฮมรูม

2. วางแผนและกำหนดมาตรการให้ครู และบุคลากรในทุกส่วนงาน
ได้ป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้วยตนเองอย่างเป็นระบบแลต่อเนื่องดังนี้
2.1 กำหนดให้ ครู และบุคลากรในทุกส่วนงานปฏิบัติตามระเบียบวินัยของสถานศึกษา
หากไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการดำเนินการตามระเบียบ
2.2 กำหนดให้นักเรียน นักศึกษาได้ปฏิบัติตนตามระเบียบที่กำหนดในคู่มือหากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการตามระเบียบ
2.3 และให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้สำรวจตนเอง

3. ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยเหลือสอดส่องดูแล เช่น สถานีตำรวจ พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ความประพฤตินักเรียนนักศึกษา และเครือข่ายผู้ปกครอง เป็นต้น

- มีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดที่เกิดขึ้นโดยสามารถควบคุมให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่อง
ผลการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดในปีการศึกษา 2553 เป็นดังนี้
1. ผู้บริหาร ครู ข้าราชการพลเรือน ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว
และครูจ้างสอนปี 2553 จำนวน 124 คน มีความเสี่ยงด้านยาเสพติด 0 คน
2. จำนวนนักเรียน นักศึกษาที่ตรวจสารเสพติดในปี 2553 รวมทั้งหมด 386 มีความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติด
รวม 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0
3. ความเสี่ยงด้านยาเสพติดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาสามารถควบคุมให้ลดลงอย่างต่อเนื่องได้

ด้านสังคม
 - มีการสร้างการมีความร่วมมือในการค้นหา/วิเคราะห์ความเสี่ยงและกำหนดประเด็นความเสี่ยงด้านสังคม
โดยมีประเด็นความเสี่ยงเรียงตามลำดับความสำคัญที่จะต้องป้องกัน และแก้ปัญหา ดังนี้
1. การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
2. หนีเรียนไปเที่ยว
3. สื่อลามก อนาจาร
- มีมาตรการให้ครูและบุคลากรทุกหน่วยงานป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านสังคมด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่องโดยได้วางแผนและกำหนดให้มีการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. จัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านสังคมโดยมีโครงการต่างๆ เช่น

1.1 โครงการประชุมผู้ปกครองและนักเรียน/นักศึกษา
1.2 มีการปฐมนิเทศนักเรียน/ นักศึกษาใหม่
1.3 เข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม นักเรียน/นักศึกษา
1.4 โครงการวันพ่อแห่งชาติ
1.5 โครงการวันแม่แห่งชาติ
1.6 วิชาเพศศึกษา
1.7 โครงการแห่เทียนพรรษา
1.8 โครงการโฮมรูม

2. วางแผนและกำหนดมาตรการให้ครู และบุคลากรในทุกส่วนงานได้ป้องกันและ
ควบคุมความเสี่ยงด้วยตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องดังนี้
2.1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการความเสี่ยงด้านสังคมให้จัดดำเนินงานและปฏิบัติงานตามจุดประสงค์ของโครงการ
2.2 ให้ทุกคนได้รู้จักวิธีป้องกันตนเองและป้องกันตนเองอยู่ตลอดเวลา
2.3 กรณีที่มีความผิดจะดำเนินการตามระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

- มีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงด้านสังคมที่เกิดขึ้นโดยสามารถควบคุมให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่องผล
การบริหารความเสี่ยงด้านสังคมในปีการศึกษา 2553 เป็นดังนี้
1. ครู และบุคลากรของส่วนงานต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 0 ที่มีความเสี่ยงด้านสังคม
2. จำนวนนักเรียน นักศึกษา ปี 2553 คน รวมทั้งหมด 386 คนไม่มีความเสี่ยงด้านสังคม คิดเป็น ร้อยละ 0
3. ความเสี่ยงการทะเลาะวิวาทในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาสามารถควบคุมความเสี่ยงให้ลดลงอย่างต่อเนื่องได้

ด้านการพนันและการมั่วสุม
 - มีการสร้างการมีความร่วมมือในการค้นหา/วิเคราะห์ความเสี่ยงและกำหนดประเด็น
ความเสี่ยงด้านการพนันและการมั่วสุม โดยมีประเด็นความเสี่ยง
เรียงตามลำดับความสำคัญที่จะต้องป้องกัน และแก้ปัญหา ดังนี้
1. การเล่นพนันและมั่วสุมภายใน สถานศึกษา
2. การเล่นพนันและมั่วสุมภายใน สถานศึกษา

- มีมาตรการให้ครูและบุคลากรทุกหน่วยงานป้องกันและควบคุมความเสี่ยง
ด้านการพนันและการมั่วสุมด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องโดยได้วางแผนและกำหนดให้มีการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. จัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านการพนันและการมั่วสุมโดยมีโครงการต่างๆ เช่น
1.1 มีระเบียบว่าด้วยการควบคุมความประพฤติและการลงโทษให้สอดคล้องกับระเบียบ
ของกระทรวงศึกษาธิการ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของวิทยาลัย
1.2 โครงการประชุมผู้ปกครองและนักเรียน/นักศึกษา
1.3 มีการปฐมนิเทศนักเรียน/นักศึกษาใหม่
1.4 เข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน/นักศึกษา
1.5 วิชาเพศศึกษา
1.6 โครงการโฮมรูม

2. วางแผนและกำหนดมาตรการให้ครู และบุคลากรในทุกส่วนงาน
ได้ป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้วยตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องดังนี้
2.1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการความเสี่ยงด้านการพนันและการมั่วสุมให้จัดดำเนินงานและ
ปฏิบัติงานตามจุดประสงค์ของโครงการ
2.2 กรณีที่มีความผิดจะดำเนินการตามระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
- มีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงด้านการพนันและการมั่วสุมที่เกิดขึ้น
โดยสามารถควบคุมให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่องผลการบริหารความเสี่ยงด้านการพนัน
และการมั่วสุมในปีการศึกษา 2553 เป็นดังนี้
1. ครู และบุคลากรของส่วนงานต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 0 ที่มี ความเสี่ยงด้านการพนันและการมั่วสุม
2. จำนวนนักเรียน นักศึกษาปี 2553 รวมทั้งหมด 386 คน ไม่มีความเสี่ยงด้านการพนันและ มั่วสุม
3. ความเสี่ยงด้านการพนันและการมั่วสุมในปี 2553 ที่ผ่านมาสามารถควบคุมให้ลดลงอย่างต่อเนื่องได้