Background.MyEm0.Com

ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อ E-lernning ของเรา ครับ




หน้าหลัก

เนื้อหารายวิชา






การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม





1. ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีประโยชน์ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน รวมทั้งกำลังงานจากมนุษย์ด้วย

2. ความหมายของการอนุรักษ์

การอนุรักษ์ (conservation) หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดให้เป็นประโยชน์ต่อ มหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่ สุด และจะต้องกระจายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยทั่วถึงกันด้วย ฉะนั้นการอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึง การเก็บรักษาทรัพยากรไว้เฉย ๆ แต่ต้องนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ (time and space) อีกด้วย

3. ความหมายของการสูญเปล่า

การสูญเปล่า (waste) หมายถึง การถูกทำลายไปโดยไม่จำเป็น หรือหมายถึงการสูญไปโดยไม่ได้ รับประโยชน์ที่คุ้มค่าแต่อย่างใด เช่น การพังทลายของดิน ไฟไหม้ และน้ำท่วม เป็นต้น การสูญเปล่านี้อาจ เกิดขึ้นได้ทั้งในการผลิต และการบริโภค การสูญเปล่านี้แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ
1) การสูญเปล่าแบบเบ็ดเสร็จ (absolute waste) หมายถึงทรัพยากรถูกทำลายไปโดยไม่ได้รับ ผลตอบแทนแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น การพังทลายของดินเนื่องมาจากน้ำหรือลม ดินที่สูญ เสียในลักษณะนี้จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
2) การสูญเปล่าแบบซ้ำเติมหรือสมทบ (waste plus) หมายถึง การสูญเสียทรัพยากรอย่างอื่น เพิ่มขึ้นมาอีกในขณะที่ทรัพยากรอย่างหนึ่งกำลังถูกทำลาย เช่น ไฟป่า นอกจากเผาไหม้ทำลายต้นไม้โดยตรงแล้วยังเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และทำลายคุณสมบัติ ของดินอีกด้วย
3) การสูญเปล่าแบบไม่ได้สัดส่วน (relative waste) หมายถึงการใช้ทรัพยากรเพื่อวัตถุ ประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่ได้สัดส่วนคุ้มค่า เช่น ใช้ทองแดงมุงหลังคาบ้านชั่วคราว และการใช้ไม้สักเป็นไม้แบบก่อสร้าง เป็นต้น
4) การสูญเปล่าแบบจงใจ (organized waste) หมายถึง การสูญเปล่าเนื่องมาจากการทำลาย ทรัพยากรอันมีค่าเพื่อรักษาระดับราคา เช่น การเอาน้ำตาลไปทิ้งทะเล เพื่อตรึงราคาเป็นต้น หรือเล็งผลเลิศว่าจะสามารถสร้างสิ่งอื่นที่ทดแทนทรัพยากรธรรมชาตินั้นได้ จึงใช้ทรัพยากร นั้นอย่างฟุ่มเฟือย เช่นนี้เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการสูญเปล่านั้นเป็นการยาก ในแง่การผลิตตามหลัก เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งหลักการในทางนิเวศวิทยา ถือว่าทุกครั้งที่ทรัพยากรมีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนสภาพ จะต้องเกิดการสูญเปล่าไม่มากก็น้อยทุกครั้งไป การอนุรักษ์จึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้เกิดการสูญ เปล่าน้อยที่สุด

4. การจำแนกประเภททรัพยากรธรรมชาติ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ทรัพยากรธรรมชาติได้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ และสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถที่จะนำมาใช้หรืออำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ได้ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน ตลอดจนกำลังงานของมนุษย์ ในทางเศรษฐศาสตร์ปัจจัย 3 อย่างที่ถือว่าเป็นปัจจัยในการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุน ล้วน มาจากทรัพยากรต่าง ๆ ดังกล่าวแทบทั้งสิ้น เช่น ที่ดิน เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการผลิต โดยมีทรัพยากร มนุษย์ในแง่ของกำลังงานเป็นแรงงาน กับอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้นทุนในการผลิต จากการผลิตนี้เอง ป่าไม้จึงกลายมาเป็นบ้าน เป็นเชื้อเพลิง ดินสอ และเครื่องใช้ต่าง ๆ หญ้าใช้เป็นอาหารสัตว์แล้วเปลี่ยนไป เป็นเนื้อสัตว์ และกลายเป็นกำลังงานมนุษย์ในที่สุด ส่วนน้ำก็เป็นประโยชน์นานับประการ เช่น ใช้ดื่ม ใช้ทำ อาหาร ชำระล้าง และใช้เพื่อการขนส่ง สัตว์ป่าใช้เป็นอาหารและใช้หนังทำเครื่องนุ่งห่ม แร่บางอย่างใช้เป็น เชื้อเพลิง ใช้ทำปุ๋ย และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จะเห็นว่าปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ต่างได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการและใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรดังกล่าวข้างต้นอาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ






ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมสื่อ E-lernning ของเราครับ