Background.MyEm0.Com

ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อ E-lernning ของเรา ครับ




หน้าหลัก

เนื้อหารายวิชา






หน่วยที่ 1พลังงาน





1. ความหมายของพลังงาน

พลังงานหมายถึงแรงงานที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ได้จากน้ำ แสงแดด คลื่นลม และเชื้อเพลิง ธรรมชาติ (fossil fuel) ซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ นอกจากนั้น ยังได้พลังงานจากความ ร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ และชานอ้อย พลังงานที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังกล่าว เรียกว่า พลัง งานต้นกำเนิด (primary energy) ส่วนพลังงานที่ได้มาโดยการนำพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวมาแปรรูปเพื่อ ใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านโค๊ก และก๊าซหุงต้ม เราเรียก ว่าพลังงานแปรรูป (secondary energy) พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปได้ เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุบางอย่างจะเกิดพลังงานจลน์ และเปลี่ยน พลังงานจลน์เป็นพลังงานความร้อน พลังงานความร้อนที่ได้ในสภาวะที่เหมาะสมจะเกิดพลังงานแสงสว่าง

2. รูปแบบของพลังงาน

1. พลังงานศักย์ คือ พลังงานที่วัตถุมีอยู่ขณะที่วัตถุถูกยึดให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ภายใต้สนามพลัง เช่นสนามแรงโน้มถ่วงของโลก ตัวอย่างเช่น ผลไม้ที่ยังติดอยู่กับกิ่งจะมีพลังงานศักย์เนื่อง จากแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อมวลของผลไม้ แต่เมื่อผลไม้นั้นสุกแก่ก็จะหลุดจากกิ่ง หลุดพ้นจากแรงยึดของกิ่ง ตกลงมาสู่พื้นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ผลไม้เคลื่อนที่ตก ลงมานั้นจะมีพลังงานจลน์
2. พลังงานจลน์ คือ พลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ โคยค่าพลังงานจลน์ที่ได้จะมีค่า มากหรือน้อย ขึ้นกับ ความเร็วการเคลื่อนที่ของวัตถุ และ มวลของวัตถุ

3. ความสำคัญของพลังงาน

พลังงานมีความสำคัญควบคู่กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตลอดเวลา แหล่งของพลังงานหรือ แหล่งของเชื้อเพลิงจึงมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าและการพัฒนาของสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสังคมของมนุษย์ไปสู่อารยธรรมที่เจริญขึ้น ความต้องการเชื้อเพลิงหรือพลังงานก็มากขึ้นตามไปด้วย ประเทศหรือภูมิภาคใดที่ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงจำเป็นต้องจัดหาและซื้อมาจากแหล่งที่มีเหลือใช้หรือพัฒนา พลังงานรูปแบบอื่นมาทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม พลังงานจากชีวมวล เป็นต้น พลังงานมีความสำคัญและบทบาทต่อสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ในด้านต่างๆ อย่างมากมาย

4. ประเภทของพลังงาน

ในที่นี้จะจำแนกพลังงานออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
1. พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
3. พลังงานกล (Mechanical Energy)
4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)






ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมสื่อ E-lernning ของเราครับ